วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
                  
            การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์  เพราะมนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา  การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร  การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น   การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง   ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ  สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน          

ความหมายของการสื่อสาร
กระบวนการถ่ายทอดและการแลกเปลี่ยนข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่มหรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
         
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
            1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
            2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
            3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
            4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
            5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

ความมุ่งหมายของการติดต่อสื่อสาร
1.  จุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร
  -  เพื่อแจ้งให้ทราบ    -  เพื่อสอนหรือให้การศึกษาและเพื่อให้หรือรับข่าวสาร ข้อเท็จจริงด้านต่างๆโดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
  -  เพื่อสร้างความพอใจและให้ความบันเทิง
 -  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกันอันนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดี
2.  จุดมุ่งหมายของผู้รับสาร
  -  เพื่อทราบ  
  -  เพื่อศึกษา
  -  เพื่อก่อให้เกิดความพอใจ
 -  เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
1.การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ  ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร
2.การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม
3.การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม

วิธีการการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
            1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วัจนภาษา" เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้น
            1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวัจนภาษา" และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
            1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้น
หรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น

รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1.              การสื่อสารทางเดียว  เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว
2.              การสื่อสารสองทาง   เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที

               ในสภาพสังคมที่คนจะต้องเกี่ยวข้องกันมากขึ้นเช่นปัจจุบัน การสื่อสารก็ยิ่งมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมมากขึ้นหากคนในสังคมขาดความรู้ความเข้าใจในการสื่อสาร ไม่สามารถถ่ายทอดความคิด หรือทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันได้ ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย ปัญหา ที่เกิดขึ้นกับบุคคลและสังคมทุกวันนี้ มีอยู่ไม่น้อยที่เป็นสาเหตุมาจากความล้มเหลวของการสื่อสาร ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญสำหรับบุคคลและสังคมหลายด้าน คือ
ด้านชีวิตประจำวัน ในชีวิตประจำวันหนึ่งๆ แต่ละคนจะต้องสื่อสารกับตัวเองและสื่อสารกับผู้อื่นตลอดเวลา นับตั้งแต่เวลาตื่นนอนก็ต้องสื่อสารกับตัวเองและคนอื่นที่อยู่ใกล้ตัว
ด้านสังคม การรวมกลุ่มในสังคมทั้งในระดับครอบครัวชุมชน จนถึงระดับประเทศจะต้องมีการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในเรื่องต่างๆมีกระบวนการทำให้คนยอมอยู่ในกฎเกณฑ์กติกาของสังคม มีการถ่ายทอดความรู้และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ประเภทของการสื่อสาร
        การสื่อสาร แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆคือ
       
1.การสื่อสารภายในบุคคล        เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในเฉพาะตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นกระบวนการที่บุคคลแต่ละคนสื่อสารกับตนเองโดยระบบประสาทส่วนต่างๆ โต้ตอบกันภายใน
        2.การสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล 2 คน โดยสามารถโต้ตอบกันได้ การสื่อสารประเภทนี้จะมีลักษณะสำคัญคือ
        2.1 การสื่อสารระหว่างบุคคลนี้จะมีความใกล้ชิดกันระหว่างผู้ส่งกับผู้รับมากกว่าการสื่อสารประเภทอื่นๆ
        2.2 การสื่อสารระหว่างบุคคลมีความซับซ้อนน้อย เนื่องจากไม่ต้องอาศัยสื่อกลางในการสื่อสาร
        2.3 อุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสื่อสารระหว่างบุคคลเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ อุปสรรคภายในและอุปสรรคภายนอก
        3.การสื่อสารในกลุ่ม
        การสื่อสารในกลุ่มเป็นการสื่อสารของบุคคลในกลุ่มที่อาจเป็นกลุ่มขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้สื่อสารซึ่งเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันหรือเวลาเดียวกัน
        4. การสื่อสารมวลชน
        การสื่อสารมวลชน เป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารที่มีบุคคลจำนวนมากเป็นเป้าหมายของการติดต่อสื่อสาร โดยให้ความสำคัญต่อผู้รับสารไม่จำกัดจำนวน



คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
          1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ                                            7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
          2. มีทักษะในการสื่อสาร                                                              8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
          3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี                 9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
          4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง        10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
          5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ                                                           11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
          6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์                                                        12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

คุณสมบัติของผู้ส่งสาร
1.  เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ
2.  เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี          
3.  เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ  ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร
4.  เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร
5.  เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร  

ความสำคัญของภาษา
1.              ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร
การสื่อสารจะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เนื้อหาของสารจะไม่สามารถถ่ายทอดได้ถ้าไม่มีภาษา จึงอาจกล่าวได้ว่าภาษาคือตัวนำสาร ภาษาที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารใช้จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับทักษะในการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งสารเลือกใช้ภาษาในการเสนอสารที่เหมาะสมกับผู้รับสาร ในด้านความรู้และทักษะการใช้ภาษา จะทำให้เกิดการรับรู้และเข้าใจตรงกัน ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร
  
ระดับภาษาแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
1) ระดับพิธีการ ภาษาระดับนี้ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ
2) ระดับทางการ ภาษาระดับนี้มิได้มุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ในการสื่อสารโดยตรง
3) ระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้มักใช้ในการปรึกษาหารือกิจธุระระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
4) ระดับสนทนา อาจเรียกว่า ระดับลำลอง   ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสื่อสารกับเพื่อนสนิท
5) ระดับกันเอง ภาษาระดับนี้จะใช้ในวงจำกัด ใช้ระหว่างบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมาก ๆ สถานที่ใช้มักเป็นที่ส่วนตัว

อุปสรรคในการสื่อสาร
อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร   อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร
1.              อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร 
-  ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
       - ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
       -  ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
       - ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
2.              อุปสรรคที่เกิดจากสาร
- สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
- สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
- สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
- สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน

3.              อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
- การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
- การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
- การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร

4.              อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
- ขาดความรู้ และความพร้อมในสารที่จะรับ   มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร และสาร
- ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป

1. ปัญหาทางด้านผู้ส่งสาร       เช่น
        1.1 พูดไม่ชัดเจน ข้อความและคำพูดไม่ได้ใจความ
        1.2 พูดเร็ว เบา เกินไป
        1.3 อารมณ์ และคำพูดไม่เหมาะสม
        1.4 เสียงอื่น ๆ รบกวน
        1.5 ภาษาที่ใช้ต่างกัน   ฯลฯ
   2. ปัญหาทางด้านผู้รับสาร       เช่น
        2.1 ไม่ตั้งใจฟัง
        2.2 มีเสียงรบกวน
        2.3 มีการขัดจังหวะเวลาพูดหรือส่งข้อความ
        2.4 ความพิการทางประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
        2.5 ปัญหาทางด้านอารมณ์และมีเจตคติไม่ดีต่อผู้ส่ง     ฯลฯ
   3. ปัญหาทางด้านเนื้อหา           เช่น
        3.1 ยาวเกินไป
        3.2 สั้นเกินไปไม่ได้ความ ตัวหนังสืออ่านไม่ออก
        3.3 ภาษาต่างกัน
        3.4 เนื้อหาถูกถ่ายทอดหลายขั้น
        3.5 ช่องทางการส่งเนื้อหาถูกตัด      ฯลฯ

การสื่อสารกับการเรียนการสอน
พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้ มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอน ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน  เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
           1.กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย
          2.การทดสอบก่อนการเรียน        
          3.ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน
         4.การทดสอบหลังการเรียน 
การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างชัดเจน เพราะว่า การเรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสารอันได้แก่ครูผู้สอน
จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน  คือ  การพยายามสร้างความเข้าใจทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนความสำเร็จของการเรียนการสอน

การเรียนการสอน
          ในการเรียนการสอน สื่อการสอนมีความสำคัญมาก เนื่องจากสื่อจะเป็นตัวช่วยสอนของครูที่สอนนักเรียน ในปัจจุบันนี้มีสื่อมากมายที่ครูจะนำมาสอนนักเรียนทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคลด้วยว่าจะเลือก สื่อแบบไหนมาสอนนักเรียน สื่อการเรียนการสอนมีส่วนช่วยทำให้นักเรียนเรียนรู้ไก้ดียิ่งขึ้น เราะถ้าครูสร้างแรงจูงใจด้วนการใช้สื่อต่างๆช่วยสอน ก็จะทำให้นักเรียนสนใจและอยากเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะสื่อมัลติมิเดีย จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้เร็วกว่าการอ่านหนังสือ

คำนิยามศัพท์ทางการศึกษา ด้านการเรียนการสอน

ปรัชญาการศึกษา (Educational Philosophy) หมายถึง ความคิดหรือระบบของความคิด ที่เกี่ยวกับการศึกษา ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของปรัชญาแม่บทปรัชญาใดปรัชญาหนึ่ง

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory) หมายถึงข้อความรู้ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้

หลักการเรียนรู้ (Learning Principle) หมายถึงข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ (Teaching / Instruction Theory) คือความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์

ทฤษฎีการสอน (Teaching / Instruction Principle) คือ ข้อความรู้ ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้

หลักการสอน (Teaching / Instruction) คือ ข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฎการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบและการยอมรับว่าเชื่อถือได้

แนวคิดทางการสอน (Teaching / Instruction / Concept / Approach) คือ ความคิดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่พรรณา / อธิบาย / ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอนที่นักคิด นักจิตวิทยา หรือนักการศึกษา ได้นำเสนอ และได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งว่าเป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือด้วย เหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง

ระบบการสอน / ระบบการเรียนการสอน (Teaching / Instruction / Model) คือแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี / หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ

วิธีสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ เช่น วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย

เทคนิคการสอน คือ กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใดๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการหรือการกระทำนั้นๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น

ทักษะการสอน คือ ความสามารถในการปฎิบัติการสอนด้านต่างๆ อย่างชำนาญซึ่ง ครอบคลุมการวางแผนการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน การใช้วิธิสอน เทคนิคการสอน รูปแบบการเรียนการสอน ระบบการสอน สื่อการสอน การประเมินผลการเรียนการสอน รวมทั้งการใช้ทฤษฎีและหลักการเรียนรู้และการสอนต่างๆ

นวัตกรรมการสอน คือ แนวคิด วิธีการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน หรืออาจเป้นสิ่งใหม่ในบริบทหนึ่งหรือช่วงเวลาหนึ่ง หรืออาจเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบ หรือได้รับการยอมรับนำไปใช้แล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายหรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ

การวิจัยด้านการเรียนการสอน คือ การศึกษาหาคำตอบให้แก่ปัญหา หรือคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การเรียนรู้ในระบบ หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จ การศึกษาที่แน่นอน

การเรียนรู้นอกระบบ หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นใน การกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญญาและความต้องการของกลุ่มแต่ละกลุ่ม

การเรียนรู้ตามอัธยาศัย หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ ด้วยตนเองตามความสนใจ ความถนัด โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม ธรรมชาติ สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ

การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาสโดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ

สื่อการเรียนการสอน
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
 1. สื่อประเภทวัสดุ
 2. สื่อประเภทอุปกรณ์
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
 4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์
                โดยปกตินักเรียนจะชอบเรียนกับครูที่มีบุคลิกภาพดี เพราะชอบที่จะอยู่ใกล้ ๆ และเมื่อมีความชอบในตัวครูแล้ว ก็อาจนำไปสู่การมีความอดทน และความพยายามที่จะเรียนรู้วิชาที่ครูสอนด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามหากนักเรียนไม่ชอบบุคลิกภาพของครูเสียแล้ว ก็ย่อมไม่อยากอยู่ใกล้ ๆ ไม่อยากได้ยินเสียง และไม่อดทนไม่พยายามที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ครูสอนไปด้วย แม้จะเป็นนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาก็เป็นเช่นนี้ เพราะเขายังไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากพอที่จะอดทน เพื่อการเรียนรู้กับครูที่น่ากลัวหรือน่ารำคาญได้